เมื่อใครที่พกวิทยุสื่อสาร เครืองในย่านสมัครเล่นแล้วโดนจับแต่เปิดช่องกู้ภัย แล้วจะรู้ทันทีว่าเครืองวิทยุสมัครเล่นไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องกู้ภัยเลย

หยุดเชิญชวนหรือหลอกให้คนไปสอบวิทยุสมัครเล่นเพื่อ
1.เพื่อใช้ความถี่กู้ภัยได้
2.สอบใบอนุญาตพกเครื่องดำ
3.จงไปเปิดกูเกิ้ล GooGle แล้วค้นหาคำว่า “นักวิทยุสมัครเล่นคืออะไร” ก่อนที่จะสอบ
อ้างอิงข้อมูลจาก hs3rbe จากประสบการณ์ ที่เคยอบรมและปฏิบัติงานด้านวิทยุสื่อสารมานะครับ ขอเรียนว่าการที่จะใช้วิทยุสื่อสารได้ถูกต้องและไม่เป็นปัญหาทางกฎหมาย และไม่ถูกจับได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 3 หลักคือ

1. คน กล่าวคือ ตัวบุคคล นั้นต้องมีสิทธิใช้วิทยุสื่อสาร (ผ่านการอบรมวิทยุสื่อสารเช่น, วิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ,วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท๑ ,วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๒ เป็นต้น ส่วนเครื่องแดงนั้น ไม่ต้องอบรม)
2. เครื่อง กล่าวคือ ต้องเป็นเครื่องที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ (ข้อสังเกตทุกเครื่อง จะมีตราครุฑ ntc id ราคาจะค่อนข้างสูงเอาการมากกว่าเครื่องจีน มียี่ห้อรุ่นชัดเจน เป็นเครื่องแท้ แต่ระวัง ตราครุฑ หรือ ntc id ปลอมนะครับ)
3. คลื่น กล่าวคือ ตัวบุคคลหรือหน่วยงานของท่านจะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุนั้นๆด้วย

คราวนี้ก็มาดูเรื่องที่เป็นปัญหากันมากเรื่องการพกพา ว่าพกไปต่างท้องที่จะผิดกฏหมาย เจ้าหน้าที่จะเรียกตรวจแล้วจะจับหรือไม่ และวิธีปฏิบัติกัน
วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 หน่วยงานหรือบุคคลที่ถูกกำหนดให้มีสิทธิใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานทางความมั่นคงเช่น ตำรวจ ทหาร พระราชวัง ปปช ปปส สมช กสทช ผวจ นายอำเภอ ปลัด กรม ปภ. ฯลฯ เป็นต้น เครื่องวิทยุจะเป็นแบบ กดปุ่มเลือกความถี่จากหน้าเครื่องได้ ใช้ความถี่ได้ตลอดย่าน 136.000-174.000mhz แต่ด้วยความที่เครื่องมีราคาแพงบุคคลที่มีสิทธิใช้งาน(ตามที่กล่าว)ในย่านความถี่นี้ ก็ชอบไปซื้อเครื่องวิทยุสมัครเล่นมาเปิด   แบนด์ แล้วใช้งาน (วิทยุสมัครเล่นตามประกาศ กสทช. ความถี่ ล๊อคไว้ที่ 144.000-146.000mhz แล้วเปิดใช้ 136.000-174.000mhz) ซึ่งถือว่า “เป็นการทำผิดกฏหมาย” เช่นเดียวกัน อีกกรณีหนึ่งคือ พวกที่ไม่มีสิทธิใช้ แต่ด้วยความที่อยากเท่ห์ หรือประหยัด หรืออะไรก็ตามแต่ ซื่อเครื่องจีน ไม่ได้มาตรฐาน หรือเครื่องสมัครเล่น มาเปิดแบนด์ เพื่อให้ใช้งานทุความถี่ อันนี้ก็ผิดกฏหมายด้วยเช่นกัน

วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 หน่วยงานหรือบุคคลที่ถูกกำหนดให้มีสิทธิใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนอื่นๆ นอกจากที่อ้างถึงข้างต้น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต.เทศบาล อบจ. กทม. กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ สาธารณสุข หน่วยงานสาธารณกุศล อาสา กู้ภัย สื่อสารมวลชนเป็นต้น คลื่นความถี่ที่ใช้ได้ คือคลื่นความถี่ตามที่หน่วยงานได้รับอนุญาต ของกู้ภัย ก็คือ 168.275 168.475 168.775 หรือตามที่ กสทช. อนุญาตให้เพิ่มเติม เป็นต้น

วิทยุสมัครเล่น บุคคลที่มีสิทธิได้รับอนุญาตให้ใช้ คือบุคคลผู้มีคุณสมบัติเป็นนักวิทยุสมัครเล่น (ผ่านการอบรมวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น) ซื้อเครื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ราคาตามท้องตลาดปัจจุบัน ประมาณ 3,500-10,000 หรือมากกว่า มีตราครุฑถูกต้อง และก่อนออกจากทางร้านโปรดตรวจสอบด้วยว่าเปิดแบนด์อยู่หรือเปล่า หรือสอบถามเลยว่าเปิดแบนด์อยู่มั้ย (กดความถี่อื่น นอกจาก 144.000-146.000 mhz) ถ้ากดออกนอกจากนี้ได้ ถือว่าเปิดแบนด์ เราเป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง ก็จะต้องรับความเสี่ยงตั้งแต่ ออกจากร้านเลยทีเดียว ผิดกฎหมายฐาน”ทำ หรือดัดแปลงวิทยุสื่อสาร” โทษหนักเอาการอยู่ ทางที่ดีให้ทางร้านปิดให้เลย เว้นแต่ว่าอยากเปิด หรืออยากเสี่ยงเอง

1. วิทยุสื่อสารประเภท 1
ผู้พกพา ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ส่วนผู้ตรวจเช่นตำรวจ หรือ กสทช. หรือทหาร กรณีกฎอัยการศึก หรือกรณีมีกฎหมายฉุกเฉินพิเศษต่างๆ ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะอลุ่มอล่วยกัน ยกเว้นกรณีหมั่นใส้ถ้าพกพาไม่ถูกต้องอาจโดนเหมือนกันการพกพาไป ถ้าเป็นเครื่องของหน่วยงาน 1 บัตรอนุญาตคน (อนุญาตบุคคลให้ใช้เครื่อง)(ถ้ามี) บัตรข้าราชการ ,บัตรพนักงาน, 2 บัตรประจำเครื่อง (อนุญาตใช้เครื่อง) จากหน่วยงานของท่าน เท่านี้ก็สบายถ้าเป็นเครื่องส่วนตัว (เครื่องส่วนตัวร่วมข่ายกับทางราชการ) 1 ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องจาก กสทช 2 บัตรข้าราชการ ,พนักงาน

2. วิทยุสื่อสารประเภท 2
ผู้พกพาส่วนใหญ่ เช่นอาสา กู้ภัย อปพร เจ้าหน้าที่ อปท โรงเรียน นักข่าว fr emsหรือแม้กระทั่งตำรวจ ทหาร ถ้าพกพาไปต่างพื้นที่แล้วสามารถติดต่อ กับเพื่อนต่างพื้นที่ได้ คุยกับเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันได้ก็พกไปเถอะครับ ไม่เป็นปัญหา (ถ้าหน่วยงานหรือแม่ข่าย ที่ใช้ความถี่เดียวกับคุณเขาคุณด้วยนะ แต่ส่วนใหญ่กู้ภัย เช่นกู้ภัยสว่างฯ ก็จะคุยกันได้ตลอด เพราะมีอยู่ทั่วประเทศ เครื่องที่พกไป ต้องเป็นเครื่องถูกต้องด้วยนะเอกสารอ้างอิงประกอบด้วย

เครื่องวิทยุของหน่วยงาน(ของหลวง)1 บัตรประจำคน ใช้เครื่อง (หน่วยงานของท่านเป็นผู้ออก)2 บัตรประจำเครื่อง (หน่วยงานของท่านเป็นผู้ออก)แต่ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัว1 ใบอนุญาตให้ใช้เครื่อง กสทช เป็นผู้ออก2 บัตรประจำตัวท่าน บัตรข้าราชการ บัตรหน่วยงาน3 ที่สำคัญ เรื่องคลื่น การโปรแกรมความถี่ ต้องเป็นไปตามที่ หน่วยงานได้รับอนุญาต เครื่องมือถือส่วนตัวต้องเป็นไปตามใบอนุญาตให้ใช้ ของ กสทช การโปรแกรมความถี่นอกจากที่ได้รับอนุญาต เป็นความผิด

3. เครื่องวิทยุสมัครเล่น
​             เครื่อง ต้องเป็นเครื่องที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น เอาเครื่องประเภท ๒ มาโปรแกรมคลื่นสมัครเล่นไม่ได้ ส่วนการพกพา
1. บัตรอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
2. ใบอนุญาตให้ใช้ หรือสำเนา
3. คลื่น สำคัญคือ ห้ามเปิดแบนด์ ใช้เฉพาะความถี่ที่ได้รับอนุญาต คือ 144.000-146.000 เครื่องจะต้องไม่สามารถกดออกจากคลื่นความถี่นี้ไม่ได้

Facebook Comments
ติดต่อ/สอบถาม
error: Content is protected !!