#เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โปรดอ่านก่อนครับ โปรดอย่าอ้างการทำความดีเพื่อสังคม มาเป็นข้ออ้างในการทำผิดกฏหมายครับ ทำผิดกฏหมาย คือ ผิดกฏหมายครับ ทำความดีเพื่อให้ทำผิดกฏหมายได้ ไม่มีครับ

#ตามกฏหมาย มูลนิธิ สมาคม อาสากู้ชีพ กู้ภัย ที่ไม่ใช่หน่วยงานภายใต้การกำกับของหน่วยงานราชการ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย จะต้องขออนุญาตใช้งานความถี่กิจการสาธารณะ จาก กสทช. จากเดิมความถี่กิจการสาธารณะ มีเพียง 3 ช่องความถี่ คือ 168.275 , 168.475, 168.775 โดยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาได้ กสทช. ได้เพิ่มช่องความถี่ให้อีก 4 ช่อง คือ 173.475 และ 173.875 สำรองความถี่ 168.8875 , 173.8875 ให้ใช้งานหลังจากปี 2563 แต่จะขออนุญาตใช้งานจริงเป็นช่องกิจการหลัก ได้เพียง 1 ช่องความถี่ จาก 6 ช่องความถี่เท่านั้น เพราะ กสทช. ประกาศให้ ความถี่ 168. 275 เป็นความถี่กลางที่ทุกมูลนิธิสมาคมจะใช้ติดต่อประสานงานกัน ทำให้ค่าตอบแทนใช้งานความถี่รายปีลดลง จากเดิมก่อนปี 2560 ที่ต้องรับผิดชอบค่าตอบแทนใช้งานความถี่รายปี จำนวน 3 ความถี่

#สำหรับความถี่ในกิจการสาธารณะ กสทช. จะออกใบอนุญาตให้สถานนีแม่ข่าย กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ อัตราขยายสายอากาศ ไม่เกิน 6 dBd ความสูงสายอากาศจากระดับพื้นดินไม่เกิน 60 เมตร เครื่อง Handy ของลูกข่าย กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ ใบอนุญาตเครื่อง Mobile ที่ติดรถยนต์ กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ โดยที่ใบอนุญาตของสถานนีแม่ข่าย (เครื่องแม่ข่าย +เสาส่ง) และเครื่องลูกข่าย ทั้งแบบ Handy และ Mobile ติดรถยนต์ ใบอนุญาตจะออกให้ในนามของมูลนิธิเท่านั้น#สำหรับความถี่ในกิจการสาธารณะ กสทช. จะออกใบอนุญาตให้เฉพาะสถานนีแม่ข่าย และเครื่อง Handy ของลูกข่ายเท่านั้น จะไม่ออกใบอนุญาตให้เครื่อง Mobile ที่ติดรถยนต์ โดยที่ใบอนุญาตของสถานนีแม่ข่าย (เครื่องแม่ข่าย +เสาส่ง) และเครื่องลูกข่าย ใบอนุญาตจะออกให้ในนามของมูลนิธิเท่านั้น

#มูลนิธิใด สมาคมใด ไม่ทำตามกฏหมาย ก็มีความผิดเต็มๆ ครับ รอถูกหวย หรือไปขัดแย้งกับมูลนิธิอื่น จนถูกร้องเรียน รอสายลมมาบุกจับ

#ทางที่ดีควรทำให้ถูกต้องตามกฏหมายครับ จากประสบการณ์ของผม การขออนุญาตใช้งานความถี่ในกิจการสาธารณะ มันยุ่งยากและใชเวลานานครับ และที่หนักสุดยากสุด คือเครื่องของลูกข่ายครับ ราคาเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง มีราคาสูง ต้องขออนุญาตในนามของมูลนิธิ แล้วให้อาสาในสังกัดยืมใช้ ยุ่งยากมากมายในการบริหารจัดการ

#ที่ง่ายสุดในตอนนี้ คือเปลี่ยนไปใช้เครื่องแดง ขออนุญาตตั้งสถานีแม่ข่ายให้ถูกต้องตามกฏหมาย แม่ข่ายมีเครื่องแดงไว้ประสานกับลูกข่าย ขออนุญาตใช้ความถี่ และใช้งานเครื่องดำสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 ในกิจการสารธารณะประโยชน์ ไว้ประสานงานกับมูลนิธิอื่นๆ และหน่วยราชการ ส่วนลูกข่ายมูลนิธิไม่ต้องรับผิดชอบก็ได้ (ถ้าเงินเหลือเฟือ จะซื้อเครื่องแดงให้ลูกข่ายใช้งาน ก็ไม่ผิดกฏหมาย) ให้ลูกข่ายไปซื้อเครื่องแดงมาใช้งานเอง ขออนุญาตใช้งานให้ถูกต้อง เครื่องแดง Handy ค่าใบอนุญาใช้งานตลอดชีพของเครื่องวิทยุ 535 บาท เครื่องแดง Mobile ติดรถยนต์ กำลังส่ง 10 วัตต์ ค่าใบอนุญาตใช้งานตลอดชีพของเครื่องวิทยุ 535 บาท ใบอนุญาตตั้งสถานี 1,070 บาท ง่ายกว่าการไปใช้เครื่องดำสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 มากมาย เพราะตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา กสทช. ขยายช่องแดง เป็น 160 ช่อง และกำกับกิจการใช้งานของแต่ละช่อง ดังต่อไปนี้

#ช่อง 1 ช่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน

#ช่อง 41 ช่องแจ้งเหตุฉุกเฉินและประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน

#ช่อง 71-75 ช่องสำหรับหน่วยงายรัฐฯและประชาชนที่รัฐฯสนับสนุน

#ช่อง 76-80 ช่องอาสากู้ชีพกู้ภัย ของหน่วยงานสาธารณกุศลต่างๆ มูลนิธิ สมาคม ที่ดำเนินกิจการด้านสาธารณะประโยชน์ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย และไม่อยู่ภายใต้กำกับของหน่วยงานราชการ

#ช่อง 150-155 ช่องสำหรับหน่วยงายรัฐฯและประชาชนที่รัฐฯสนับสนุน

#ช่อง 156-160 ช่องอาสากู้ชีพกู้ภัย ของหน่วยงานสาธารณกุศลต่างๆ มูลนิธิ สมาคม ที่ดำเนินกิจการด้านสาธารณะประโยชน์ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย และไม่อยู่ภายใต้กำกับของหน่วยงานราชการ

#ช่อง 2 – 40 , 42-70, 81-150 คือช่องที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ จะคุยงานก่อสร้าง งาน รปภ. กิจการงานเอกชน คุยจีบสาว เม้าเรื่องการบ้านการเมือง คุยอะไรก็ได้ที่ไม่ผิดกฏหมาย ได้ทั้งนั้นครับ แต่จะเอาไปโฆษณาขายสินค้า เปิดเพลงออกอากาศ ไม่ได้นะครับ ผิดกฏหมาย 100%

#ในส่วนช่องแดงของมูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย ที่ใช้งานได้ 10 ช่อง คือ ช่อง 76 -80 และช่อง 156-160 ประชาชนธรรมดาจะมาใช้ 10 ช่องนี้ไม่ได้ มีความผิดทางกฏหมาย เช่นเดียวกัน มูลนิธิอาสากู้ชีพกู้ภัยจะไปใช้ช่องของประชาชนช่อง 2 – 40 , 42-70, 81-150 เป็นช่องกิจการหลักของหน่วยงานตนเอง นอกเหนือจาก 10 ช่องความถี่ ที่ กสทช. กำหนดให้ ก็ไม่ได้ มีความผิดตามกฏหมายเช่นเดียวกัน

#แต่ในปัจุบัน ประชาชนคนไทยมากกว่า 90% ยังเข้าใจว่า จะใช้งานช่องแดง ช่องไหนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ ไปทับซ้อนกับช่องของกู้ชีพกู้ภัย ดังนั้นหากพบว่ามีประชาชนทั่วไปออกอากาศในช่อง 76-80, 156-160 ก็สามารถแจ้ง กสทช. ให้ตรวจสอบจับกุมได้ครับ ในช่วงเริ่มต้น ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ประชาชนทั่วไปคงมีการใช้งานผิดช่องกันอยู่ไม่น้อย รอไปอีกสักพัก ให้สายลมเชือดไก่ให้ลิงดู ก็คงจะซาไป และรู้ว่าจะต้องใช้ช่องไหน ให้ถูกต้องตามกฏหมาย

#สุดท้ายถ้ายังติดยึดอยู่กับความคิดเดิมๆ ว่า พกเครื่องแดงแล้วคุยกับเครื่องดำหรือติดต่อกับข่ายราชการไม่ได้ พกเครื่องแดงแล้วฟังตำตรวจไม่ได้ พกเครื่องแดงแล้วไม่เท่ห์ เป็นเหมือนยาม เหมือน รปภ. เหมือนคนงานก่อสร้างต้องพกเครื่องดำ มันเท่ห์ ก็ทำผิดกฏหมายกันต่อไปครับ เป็นสิทธิของท่าน เป็นความรับผิดชอบของตัวท่านเอง

นันท์สกร นพรัตน์วิมล
พระอาทิตย์ 23
วชิระ 72-08
เหนือ 28-02

#############

#กสทช_เอาจริง
เมื่อ 8 พ.ค.61,1030
จ.ส.อ.ธำรงค์ หนูแปลก หน.ชป.ร้อย.สห.มทบ.45 พร้อม จนท.สห. จำนวน 2 นาย ออกปฏิบัติงานร่วม สำนักงาน กสทช. เขต 13 (สุราษฎร์ธานี) และ จนท.ตร.สภ.พระแสง ได้ตรวจสอบใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร ของมูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์
ผลการปฏิบัติ เบื้องต้นทาง จนท.กสทช.เขต 13 ได้ตรวจยึดวิทยุสื่อสาร มีดังนี้
1.เครื่องโมบายประจำมูลนิธิ 2 เครื่อง
2.เครื่องโมบายประจำรถ 1 เครื่อง
3. วิทยุพกพา 3 เครื่อง
วิทยุที่ทำการตรวจยึด เป็นวิทยุที่ไม่มีใบอนุญาต และได้นำตัวผู้จัดการมูลนิธิฯ นำส่ง สภ.พระแสง เพื่อดำเนินคดี ต่อไป

ข้อความ…E23FWW…
ถ่ายทอด …E29PQI…

Facebook Comments
ติดต่อ/สอบถาม
error: Content is protected !!