ข้อกฏหมายที่อาสาต้องรู้เกี่ยวกับการใช้งานวิทยุสื่อสาร‬

        ความจริงที่อาสากู้ชีพกู้ภัย อปพร. ต้องรู้เกี่ยวกับข้อกฏหมายและความจริงบางประการเกี่ยวกับการใช้งานวิทยุสื่อสาร.. ‪ข้อมูลยืนยันถูกต้องจาก‬ สำนักการอนุญาตและกำกับวิทยุคมนาคม (คท) กสทช. ที่ผมไปสอบถามด้วยตัวเอง ‪‎และข้อมูลบางส่วนจากประสบการตรงของผมเอง‬…มีดังต่อไปนี้

        1.‪‎การใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกต้องตามกฏหมาย
        ก.‪‎ใช้เครื่องวิทยุสื่อสารถูกต้องตามประเภทตามข้อกำหนดของกฏหมาย กล่าวคือ กฏหมายอนุญาตให้ 18 หน่วยงานราชการ ใช้เครื่องวิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 ชนิดตั้งความถี่จากหน้าเครื่องได้ นอกเหนือจาก 18 หน่วยงานตามข้อกำหนดของกฏหมาย กฏหมายให้ใช้เครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 ชนิดตั้งความถี่ด้วยคอมพิวเตอร์ ยกเว้นกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นกฏหมายอนุญาตให้ใช้เครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 ชนิดตั้งความถี่ที่หน้าเครื่องได้ แต่จำกัดความถี่ใช้งานแค่ 144-146.500 เท่านั้น อนาคตจะขยายไปจนถึง 147 …
        ข.‪‎เครื่องถูกต้อง‬ นำเข้าถูกต้อง มี NTC:ID และหรือมี ปท.
        ค.‪‎ผู้ใช้งานถูกต้อง‬ ผู้ใช้งานจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้งานวิทยุสื่อสาร จาก กสทช. และใช้งานความถี่ตรงกับใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาต

        2.‪‎ทุกหน่วยงานราชการ
        ได้รับการยกเว้นใบอนุญาต โดยเครื่องวิทยุจะต้องนำเข้าถูกต้องตามกฏหมาย มี NTC:ID หรือมี ปท. และต้องขึ้นทะเบียนเป็นคุรุภัณฑ์ของทางราชการ และหน่วยงานต้องออกบัตรพนักงานวิทยุ และบัตรควบคุมเครื่อง ให้กับผู้ใช้งาน (หรืออาจจะอยู่ในบัตรเดียวกัน) เพื่อใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวที่ออกโดยหน่วยงานราชการ

        3.อาสากู้ชีพกู้ภัย‬ อปพร. อาสาทุกหมู่เหล่า
        กฏหมายบังคับให้ใช้งานเครื่องวิทยุสังเคราะห์ความถีี่ประเภท 2 ชนิดตั้งความถี่ด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น ‪”‎ใครไปใช้เครื่องสังเคราะห์ความถีี่ประเภท‬  1 ‪ ผิดกฏหมาย‬ 100%”

        4.‪มูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย
        ที่ได้รับการจัดสรรความถี่ที่ถูกต้องตามกฏหมาย คือ 168.275 , 168.475 , 168.775 ซึ่งเป็นความถี่ที่ใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีมูลนิธิใดเป็นเจ้าของ  ตามกฏหมายมูลนิธินั้น‬ จะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหาเครื่องวิทยุ ดำเนินการขอใบอนุญาตจากกสทช. โดยที่ เครื่องวิทยุจะต้องเป็นของมูลนิธิ ใบอนุญาตแต่ละเครื่องก็จะเป็นใบอนุญาตของมูลนิธิ เมื่อได้ใบอนุญาต มาแล้วมูลนิธิก็จะจัดสรรให้อาสาในสังกัดของตนเองใช้งาน ในลักษณะของการเบิกยืมไปใช้งาน เมื่อหมดสภาพการเป็นอาสาของมูลนิธิก็ต้องส่งเครื่องคืนต้นสังกัด

        5.‪โดยที่ในแต่ละปีมูลนิธิ‬
        จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ความถี่ ความถี่ละ 400 บาท ‪ ‎ต่อเครื่อง‬ มูลนิธิที่อยู่ในต่างจังหวัด กสทช. บังคับอนุญาตต้องมีครบทั้ง 3 ความถี่ ดังนั้นจะตัองเสียค่าใช้ความถีี่ปีละ 1,200 บาท  ต่อเครื่อง ส่วน 2 มูลนิธิใหญ่ใน กทม. มูลนิธิแรกใช้ความถีี่เดียว จ่าย 400 บาท มูลนิธิสองใช้สองความถี่จ่าย 800 บาท  ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาต ซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว

        6.‪‎เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในข้างต้น
        มันคือภาระที่สูงมากของมูลนิธิที่จะต้องจัดหาเครื่องวิทยุให้กับอาสาใช้งาน ลองคิดดูว่ามูลนิธิหนึ่งๆ มีลูกข่ายเท่าไหร่ ถ้าจะทำให้ถูกต้องตามกฏหมายจริงๆ จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และที่สำคัญคือการบริหารจัดการเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะคนอาสา มาทำงานอาสา มีการเคลื่อนไหวเข้าๆ ออกๆ เปลี่ยนต้นสังกัดอยู่เป็นประจำ สองเหตุผลในข้างต้น จึงทำให้มูลนิธิที่ได้รับการจัดสรรความถี่ที่ถูกต้องจาก กสทช. ‪ ‎ลอยแพอาสาไม่รับผิดชอบเรื่องวิทยุสื่อสาร‬ ใครจะใช้วิทยุอะไร ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับมูลนิธิ หากโดนตำรวจจับก็ต้องรับ ผิดชอบตัวเอง เป็นความผิดเฉพาะตัวไม่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิ‎เจ็บปวดใจดี

        7.‪‎แต่มีบางมูลนิธิที่ใจกว้าง
        ยอมให้อาสาเอาเครื่องที่ถูกต้องตามกฏหมาย มายกให้เป็นของมูลนิธิต้นสังกัด ‪โดยให้เป็นเจ้าของแต่เพียงในนาม‬ เพื่อให้มูลนิธิต้นสังกัด ดำเนินการขอใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งใบอนุญาตก็เป็นชื่อของมูลนิธิต้นสังกัด ไม่ใช้ชื่อของอาสาอยู่ดีอาสาจะใช้งาน ได้ตลอดตราบเท่ายังเป็นอาสาของมูลนิธินั้นๆ แต่ถ้าย้ายไปสังกัดมูลนิธิอื่น เครื่องวิทยุที่ใช้งานก็จะผิดกฏหมายทันที เช่น ใบอนุญาตของ เครื่องระบุว่าเป็นของมูลนิธิ ก. แต่อาสาผูัใช้งานเป็นอาสาของมูลนิธิ ข. ต้นสังกัดของเครื่องไม่ตรงกับผู้ใช้งาน ‪‎ก็ผิดกฏหมาย‬

        8.‪‎มูลนิธิใดๆ
        ที่ตั้งขึ้นมาโดยแจ้งวัตุประสงค์เพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณะและบรรเทาสาธารณะภัย แล้วไม่ได้ขออนุญาตใช้ความถีี่ 168.275 , 168.475 , 168.775 จาก กสทช. แต่ไปใช้ความถี่ย่านอื่น มูลนิธินั้นใช้ความถี่เถื่อน ก็ผิดกฏหมาย

        9.‪‎ถ้าอาสาอยากมีเครื่่องวิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภท‬ 2
        ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. โดยใบอนุญาตระบุชื่อของตัวอาสา เครื่องเป็นของตนเอง  จะต้องขอเข้าร่วมใช้งานความถี่จากหน่วยงานราชการ‬ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น ที่ยอมให้อาสาใช้ความถี่ร่วมข่าย ราชการได้คือ ‪‎กรมป้องกันภัย‬ แต่ความถี่ที่ได้รับอนุญาต เป็นความถี่ของ ปภ. พอใช้งานจริง ไปใช้ความถีี่ 168.275 , 168.475 , 168.775 หรือ ความถี่อื่น ก็ผิดกฏหมาย

        10.ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
        ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผู้บังคับใช้กฏหมาย สามารถตรวจค้นจับกุม (ซึ่งหน้า) หรือเข้าร่วมจับกุมผู้ใช้งานวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกับกสทช. ได้

        11.หากถูกจับกุมวิทยุสื่อสาร
        โดยไม่มีความผิดอื่นร่วมด้วย และตำรวจตั้งข้อกล่าวหา “มีครอบครองและใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต” ให้รับสารภาพตามข้อกล่าวหา และแจ้งความประสงค์ต่อรัอยเวรเจ้าของคดี ให้ทำสำนวนส่งไปเปรียบเทียบปรับ ที่ กสทช. ตามอำนาจของกฏหมาย เว้นเสียแต่ว่าผู้ต้องหาไม่ยอมรับสารภาพ จะขอต่อสู้ในชั้นศาล หรือมีความผิดอื่นร่วมด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำสำนวนส่งฟ้องศาลทันที ผู้ต้องหาไม่สามารถขอใช้สิทธิ์ไปเสียค่าปรับที่ กสทช. ได้

        12.จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง
        ถ้าถูกตำรวจจับกุมโดยไม่มี จนท. ของ กสทช. ร่วมด้วย และผู้ต้องหาไม่แสดงเจตจำนงค์จะไปเสียค่าปรับที่ กสทช. ตำรวจจะทำสำนวนส่งฟ้องศาล เพื่อเปรียบเทียบปรับโดยอัตโนมัติ ตำรวจส่วนใหญ่ยังมีเข้าใจว่าอำนาจในการปรับข้อหาที่เกี่ยวกับ วิทยุสื่อสารนั้น เป็นอำนาจตรงศาล แต่ในความเป็นจริง ตามตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ให้อำนาจในการปรับคดีที่เกี่ยวกับวิทยุ เป็นอำนาจตรงของ กสทช. แต่ศาลก็มีอำนาจปรับเช่นกัน  เช่นในกรณีผู้ต้องหาไม่ยอมรับสารภาพ หรือกระทำความผิดอื่นร่วมด้วย จะกลายเป็นอำนาจโดยตรงของศาล

        13.ถ้าผู้ต้องหาแสดงเจตจำนงค์ต่อร้อยเวรเจ้าของคดีว่ามีความประสงค์จะไปเสียค่าปรับที่ กสทช. แล้ว
        แต่ร้อยเวรเจ้าของคดียังทำสำนวนส่งฟ้องศาล ผู้ต้องหาสามารถแจ้งความดำเนินดคีต่อร้อยเวรเจ้าของคดี ตามมาตรา 157 ได้

        14.จากประสบการณ์ตรง โดนจับวิิทยุ 1 เครื่อง
        ตำรวจตั้งข้อหา มีครอบครองและใช้งานวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไปเสียค่าปรับที่กสทช. เป็นเงิน 7,000 บาท คดีสิ้นสุด การไปเสียค่าปรับที่ กสทช. จะมีอัตราค่าปรับที่แน่นอน แต่การไปเสียค่าปรับที่ศาล ค่าปรับอาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าการไปเสียค่าปรับที่ กสทช. ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล

        15.วิทยุของกลาง ที่ถูกจับกุม
        และต้องเป็นเครื่องถูกต้องตามกฏหมาย เมื่อดคีถึงที่สุด ถ้าศาลไม่สั่งยึดของกลาง ผู้ต้องหาสามารถขอคืนวิทยุ สื่อสารเครื่ิองนั้นได้ เช่นนาย ก.เป็นนักวิทยุสมัครเล่น จดทะเบียนเครื่องถูกต้อง มีใบอนุญาตจาก กสทช. แต่ไปเปิดแบนด์ใช้ความถี่นอกเหนือจากความถี่ที่ได้รับอนุญาต จึงถูกตำรวจจับ ดังนั้นเมื่อคดีสิ้นสุด ผู้ต้องหาสามารถนำเอกสารการจ่ายค่าปรับ และเอกสารการจดทะเบียนเครื่องไปยื่นต่อรัอยเวรเจ้าของคดี เพื่อขอเครื่องวิทยุสื่อสารเครื่องนั้นคืน

        16.ข้อสุดท้าย อาสาของประเทศไทย 99.99%
        ใช้วิทยุผิดกฏหมาย แต่ที่ตำรวจไม่กวดขันจับกุม เพราะอาสาคือผู้ที่ช่วยงานตำรวจ ช่วยงานสังคมจึงอะลุ้มอล่วยให้ใช้งานวิทยุแบบผิดกฏหมายแบบสีเทาๆ แต่นั้นหมายความว่าตำรวจยังมีอำนาจเต็มในการจับกุม ขึ้นอยู่กับว่าตำรวจเลือกจะจับกุมหรือไม่จับกุมเท่านั้นเอง

Facebook Comments
ติดต่อ/สอบถาม
error: Content is protected !!